Why we sick? รู้สาเหตุการป่วย เพื่อเราจะไม่ป่วย
รับชมวิดีโอ
เอกสารประกอบคำบรรยาย 
อะไรคือต้นเหตุจริง ๆ ของโรคเรื้อรังที่เชื่อว่ารักษาไม่หาย การกินยา เป็นประจำทำได้แค่กดอาการไว้ รวมถึงความเข้าใจในเรื่องการนับแคลอรี่ ความเข้าใจเกี่ยวกับโคเลสเตอรอล การลดน้ำหนัก การกินให้ถูกต้อง การมีช่วงเวลาหยุดกิน เรื่องของน้ำตาล คาร์โบไฮเดรต ระบบเผาผลาญ สรุปรวมเป็นแนวทางที่จะจุดประกายให้คุณต้องคิดทบทวน และตัดสินใจเลือกเองว่า จะทำตามสิ่งที่ทำตามคำแนะนำตลอดมา แต่มันไม่เวิร์ค ต่อไปหรือไม่?
Good Sleep, Good Health. นอนดี หลับดี ชีวิตดี
รับชมวิดีโอ
เอกสารประกอบคำบรรยาย 
เข้าใจเรื่องการนอน เกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างนอนหลับ ทำไมเราต้องนอน ความสำคัญของการนอนหลับ ระยะของการหลับในช่วงต่างๆ มีผลต่อการหลับตื่น หรือฝันอย่างไร ประโยชน์ของการฝัน ระยะการนอนของคนปกติควรเป็นอย่างไร รู้จักนาฬิกาชีวิต ที่ควบคุมการหลับตื่น และการทำงานของระบบต่างๆ แต่ละคนหรือแต่ละช่วงวัย ควรนอนนานแค่ไหนพอ โรคนอนไม่หลับและคำแนะนำ สุขอนามัยการนอนที่ดี ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ นอนกรนแบบไหนคือความเสี่ยง
Lifestyle Medicine เวชศาสตร์วิถีชีวิต ใช้ชีวิตป้องกันโรค
รับชมวิดีโอ
เอกสารประกอบคำบรรยาย 
การแพทย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การรักษา ทำให้โรงพยาบาล แน่นขนัดไปด้วยผู้ป่วยที่มาพบหมอสาขาต่างๆ ความจริงแล้วในสังคม ภาครัฐ เอกชน ควรจะผลักดันสนับสนุนให้คนไม่ป่วย มีสุขภาพ ร่างกายที่แข็งแรง ดีกว่าป่วยแล้วไปหาหมอ จึงเป็นที่มาของการแพทย์สาขาใหม่ในเมืองไทย ที่เกิดขึ้่นมาไม่นาน นั่นคือเวชศาสตร์วิถีชีวิต หรือ Lifestyle Medicine เรียนรู้และเข้าใจเวชศาสตร์เชิงป้องกันนี้ ที่จะทำให้เรา เปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนแปลงตัวเอง เปลี่ยนแปลงครอบครัว จนทำให้เราไม่เจ็บป่วย ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข มั่นใจ จนบั้นปลายชีวิต
Life, Health & Wealth Span 3 สมดุล : อายุยืนอย่างมีคุณภาพ
รับชมวิดีโอ
เอกสารประกอบคำบรรยาย 
Life Span หรืออายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ปัจจุบันอยู่ที่ 70-80 ปี ซึ่งยาวนานกว่าในอดีตมาก เป็นผลจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และการยกระดับคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ดี อายุที่ยืนยาวเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ หากขาดซึ่งสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง Health Span คือช่วงชีวิตของการมีร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดระยะเวลาที่ดำรงชีวิต นี่คือนิยามที่แท้จริงของการมี "อายุยืน" ควบคู่กับ "คุณภาพชีวิตที่ดี" มิใช่เพียงแค่การมีชีวิตอยู่ Wealth Span อีกปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับ Health Span และ Life Span อย่างแยกไม่ออก คือระยะเวลาแห่งความมั่งคั่งมั่นคงทางการเงิน การมีเงินเก็บอย่างเพียงพอจะสร้างหลักประกันในการดูแลสุขภาพ จ่ายค่ารักษา และสร้างความมั่นคงไปจนถึงบั้นปลายของชีวิต ผู้ที่วางแผนการเงินอย่างรอบคอบและมีเงินออมระยะยาว จะสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่เปี่ยมสมบูรณ์ และอายุขัยที่ยืนยาว
Goodbye Migraine ! ได้เวลา…บอกลาไมเกรน !
รับชมวิดีโอ
เอกสารประกอบคำบรรยาย 
ไมเกรนเป็นอาการปวดหัวที่พบได้บ่อย ในประเทศไทยมีผู้ป่วยถึง 10 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 7 ของประชากร สาเหตุของไมเกรนมาจากหลายปัจจัย เช่น ความเครียด สภาพอากาศ กลิ่น และแสงจ้า แม้ว่าจะมีผู้ป่วยจำนวนมาก แต่หลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับไมเกรน รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอาการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้
Hallmarks of aging 9 กลไกความแก่…เช็คด่วน !
รับชมวิดีโอ 
ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ หรือ Aging Society ทำให้คนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น เมื่อ 10 ปีก่อนมีการประชุมที่โคเปนเฮเกน มีการพูดถึงกลไกที่เกิดขึ้นในระดับเซล ซึ่งทำให้คนเราเข้าสู่วัยชรา ถ้าเราไปกระตุ้นให้กลไกนี้ทำงานมากขึ้น เราจะยิ่งแก่เร็ว ในทางกลับกัน ถ้าเราชะลอกลไกนี้ให้ทำงานช้าลง เราจะย้อนวัยได้ ! การทำความเข้าใจ และเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกความแก่ชรา ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมเซลของเรา ถึงแก่ โรคต่างๆ ที่เกิดจากความชรา กลไกจริงๆ ในระดับเซลเกิดจากอะไร ถ้าเรารู้สาเหตุก็หาทางป้องกันได้ ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น