แผนคุ้มครองอุบัติเหตุ (เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และค่ารักษาพยาบาล) สำหรับกลุ่มธุรกิจต่างๆ
แผนการประกันชีวิตกลุ่ม "สำหรับกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ"
เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และค่ารักษาพยาบาล
เบี้ยประกันภัยใช้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2567 เท่านั้น
Introduction of Insurance
Insurable Age
สมาชิกผู้ขอเอาประกันภัย
ต้องมีอายุระหว่าง 15 - 65 ปี
กฎเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัย
1.คุณสมบัติของกลุ่มที่มีสิทธิสมัครเอาประกันภัย
1.1) ผู้ถือกรมธรรม์
- เป็นบริษัทที่จดทะเบียนการค้าเป็นนิติบุคคล
- องค์กรจะต้องมีสถานที่ประกอบการในประเทศไทยและพนักงานจะต้องปฎิบัติงานประจำในประเทศไทย
- ธุรกิจที่ประกอบด้วยจำนวนพนักงานประจำ ตั้งแต่ 26 - 50 คน
- ไม่มีกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มสวัสดิการพนักงานที่มีความคุ้มครองประเภทเดียวกัน และยังมีผลบังคับกับ บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ณ ปัจจุบัน
- ผลประโยชน์ความคุ้มครองนี้ไม่สามารถใช้ได้สำหรับกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ สหภาพแรงงาน สมาคม สโมสร ชมรม เจ้าหนี้และลูกหนี้ หรือการรวมตัวในรูปแบบสมาชิก หรือผู้ที่เดินทางไปทำงานต่าง ประเทศ (เว้นแต่เป็นเจ้าหน้าที่บุคคลากรของสหกรณ์เท่านั้น)
- ผลประโยชน์การประกันภัยจะให้ความคุ้มครองแก่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงไม่เกินระดับอาชีพขั้น 2 ได้แก่
ระดับอาชีพขั้น 1 คือ ลักษณะการประกอบธุรกิจที่มีความเสี่ยงภัยระดับต่ำ หรือมีลักษณะงานที่ประกอบอาชีพภายในสำนักงาน งานด้านบริหาร การจัดการ เช่น สมุหบัญชี, นักคณิตศาสตร์, นักกฏหมาย, พนักงานตรวจสอบใบธนาคาร, ผู้จัดการ,พนักงานในโรงแรม ภัตตาคาร (ทำหน้าที่ในสำนักงานเท่านั้น), เจ้าหน้าที่สรรพากร (ทำหน้าที่ในสำนักงานเท่านั้น), พนักงานส่งหมายศาล, บริษัทโฆษณา, วิศวกร (ทำหน้าที่อยู่ในสำนักงานเท่านั้น), เจ้าหน้าที่สหกรณ์ , กิจกรรมให้คำปรึกษา, การวิจัยและพัฒนา ฯลฯ
ระดับอาชีพขั้น 2 คือ ลักษณะการประกอบธุรกิจที่มีความเสี่ยงภัยระดับปานกลาง หรือมีลักษณะงานที่ประกอบอาชีพภายนอกอาคารสำนักงานเป็นครั้งคราว เช่น ตัวแทน (เดินทางประจำ), เจ้าหน้าที่ สรรพากร (ทำหน้าที่นอกสำนักงานด้วย), ตัวแทนและนายหน้า, กิจการขายส่งสินค้าทั่วไป, กิจการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม นักสำรวจนอกสำนักงาน, การให้สินเชื่อ, การพิมพ์, กิจการขายปลีก ฯลฯ
1.2) สมาชิกผู้เอาประกันภัย
สำหรับพนักงาน
- ผลประโยชน์การประกันภัยจะให้ความคุ้มครองแก่พนักงานที่มีอายุ 15 - 65 ปี ซึ่งปฏิบัติงานเต็มเวลาในวันที่เริ่มมีผลบังคับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม
- พนักงานต้องเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ตามพรบ.ประกันสังคม
- พนักงานที่มีสิทธิ์เข้าร่วมแผนความคุ้มครองจะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและไม่อยู่ระหว่างการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ หรือรักษาตัว หรือติดตามผลการรักษา
- อายุเฉลี่ยของพนักงานทั้งหมดจะต้องไม่เกิน 45 ปี
สำหรับสมาชิกครอบครัว
- คู่สมรสของพนักงานที่มีอายุ 15 - 65 ปี
- บุตรของพนักงานที่มีอายุตั้งแต่ 14 วันหลังจากคลอดและออกจากโรงพยาบาลแล้ว จนมีอายุถึง 25 ปีบริบูรณ์ โดยยังไม่ได้ทำการสมรส และยังไม่ได้ทำงาน
- กรณีนายจ้างต้องการสมัครทำประกันภัยสุขภาพกลุ่มให้แก่คู่สมรสและบุตรของพนักงาน คู่สมรสและบุตรทุกคนจะต้องสมัครทำประกันภัย 100% ของกลุ่ม
- คู่สมรสและบุตรจะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและไม่อยู่ระหว่างการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ หรือรักษาตัว หรือติดตามผลการรักษา
เงื่อนไขการพิจารณารับประกันภัย
- พนักงานจะต้องสมัครเอาประกันภัย 100% ของจำนวนผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประกันภัย ณ วันที่ กรมธรรม์ เริ่มมีผลบังคับ
- สามารถแจ้งเข้าเพิ่มเติม สมาชิกผู้เอาประกันภัยระหว่างปีกรมธรรม์ได้ ในกรณีที่รายชื่อตกหล่น หรือ เป็นสมาชิกใหม่
สำหรับพนักงาน 3 - 25 คน
- สมาชิกทุกคนกรอกใบคำขอเอาประกันชีวิตกลุ่ม (สำหรับพนักงาน) (G003 สำหรับพนักงาน) เอกสารข้อความยืนยันถ้อยแถลงหรือคำตอบและการให้ความยินยอม และผ่านการพิจารณารับประกันแล้วเท่านั้น
สำหรับพนักงาน 26 - 50 คน
- จำนวนเงินเอาประกันชีวิตสูงสุดที่บริษัทฯสามารถรับประกันภัยได้ โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพหรือแถลงสุขภาพจะเท่ากับ (FCL.=400,000 บาท) โดยทุนประกันที่เกิน(FCL.) จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด และผ่านการพิจารณารับประกันแล้วเท่านั้น
- กรณีสมาชิกได้รับความคุ้มครองที่ทุน 500,000 ถึง 700,000 บาท จะต้องกรอกใบคำขอเอาประกันชีวิตกลุ่ม (G003 สำหรับพนักงาน) เอกสารข้อความยืนยันถ้อยแถลงหรือคำตอบและการให้ความยินยอม โดยผู้ขอเอาประกันเป็นผู้กรอกรายละเอียดทั้งหมด
สำหรับพนักงาน 51 - 100 คน
- จำนวนเงินเอาประกันชีวิตสูงสุดที่บริษัทฯสามารถรับประกันภัยได้ โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพหรือแถลงสุขภาพจะเท่ากับ (FCL.=500,000 บาท) โดยทุนประกันที่เกิน(FCL.) จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด และผ่านการพิจารณารับประกันแล้วเท่านั้น
- กรณีสมาชิกได้รับความคุ้มครองที่ทุน 600,000 ถึง 700,000 บาท จะต้องกรอกใบคำขอเอาประกันชีวิตกลุ่ม (G003 สำหรับพนักงาน) เอกสารข้อความยืนยันถ้อยแถลงหรือคำตอบและการให้ความยินยอม โดยผู้ขอเอาประกันเป็นผู้กรอกรายละเอียดทั้งหมด
Coverage and Benefit
รายละเอียดผลประโยชน์ | จำนวนเงินเอาประกันภัย(บาท) | |||||||
แผน1 | แผน2 | แผน3 | แผน4 | แผน5 | แผน6 | แผน7 | ||
การประกันชีวิต | การเสียชีวิตทุกกรณี ตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วโลก ยกเว้น การฆ่าตัวตายในปีแรกของกรมธรรม์และการถูกฆาตกรรมโดยผู้รับประโยชน์ |
100,000 | 200,000 | 300,000 | 400,000 | 500,000 | 600,000 | 700,000 |
การประกันภัย อุบัติเหตุ (อบ.2) |
การเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุธรรมดา(จ่ายเพิ่มเติมจากการประกันชีวิต) | 100,000 | 200,000 | 300,000 | 400,000 | 500,000 | 600,000 | 700,000 |
การเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุสาธารณะภัย(จ่ายเพิ่มเติมจากการประกันชีวิต) | 200% | |||||||
การสูญเสียอวัยะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง | 100% - 1% | |||||||
ขยายความคุ้มครอง อ.บ.3.1 |
- การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ - การจราจลและการนัดหยุดงาน | |||||||
- การถูกฆาตกรรม /ลอบทำร้าย - การสงคราม | ||||||||
การประกันภัย ทุพพลภาพโดยสิ้นเชิง |
เนื่องจากผลการเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย นานต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน จ่ายผลประโยชน์ครั้งเดียวเป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัย |
100,000 | 200,000 | 300,000 | 400,000 | 500,000 | 600,000 | 700,000 |
การประกันสุขภาพ | ผลประโยชน์คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและศัลยกรรม แบบผู้ป่วยใน | |||||||
แบบผู้ป่วยใน ( IPD) | 1. ค่าห้องและค่าอาหาร 1.1 ค่าห้องกรณีผู้ป่วยปกติ ต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 31วันต่อการเข้ารักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง) |
1,000 | 1,500 | 2,000 | 2,500 | 3,000 | 3,500 | 4,000 |
1.2 ค่าห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู.) ต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 7 วันต่อการเข้ารักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง และเมื่อรวมกับข้อ 1.1 ค่าห้องกรณีผู้ป่วยปกติแล้วไม่เกิน31วัน) |
2,000 | 3,000 | 4,000 | 5,000 | 6,000 | 7,000 | 8,000 | |
2. ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ ต่อการเข้ารักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง - รวมถึงค่าบริการในโรงพยาบาล |
20,000 | 30,000 | 40,000 | 50,000 | 60,000 | 70,000 | 80,000 | |
- รวมถึงค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉินสำหรับไปและ/หรือมาจากโรงพยาบาล | 1,000 | 1,500 | 2,000 | 2,500 | 3,000 | 3,500 | 4,000 | |
ขยายความคุ้มครอง | - ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกต่อเนื่องจากผู้ป่วยใน ( ต่อเนื่องภายใน 31 วัน หลังจากออกจากโรงพยาบาล) |
รวมอยู่ในผลประโยชน์ข้อ 2 | ||||||
3. ค่าแพทย์ตรวจรักษาในโรงพยาบาล ต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 31 วันต่อการเข้ารักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง) |
700 | 1,000 | 1,200 | 1,500 | 1,800 | 2,500 | 2,500 | |
4. ค่าแพทย์ผ่าตัดและหัตถการต่อการเข้ารักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แบบจ่ายตามจริง) |
25,000 | 35,000 | 45,000 | 55,000 | 65,000 | 75,000 | 80,000 | |
5. ค่าห้องผ่าตัดและอุปกรณ์ในห้องผ่าตัด ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง |
รวมอยู่ในผลประโยชน์ข้อ 2 | |||||||
6. ค่าวางยาสลบ ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง |
รวมอยู่ในผลประโยชน์ข้อ 2 | |||||||
7.ค่าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค | 4,000 | 4,500 | 5,000 | 6,000 | 7,000 | 8,000 | 10,000 | |
ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง | รวมอยู่ในผลประโยชน์ข้อ 2 หรือข้อ 4 แล้วแต่กรณี | |||||||
8.ค่ารักษาพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินขณะเป็นผู้ป่วยนอก ต่อการบาดเจ็บแต่ละครั้ง (บาดเจ็บภายใน 24 ชั่วโมง ต่อเนื่องสูงสุดไม่เกิน 31 วัน) |
4,000 | 4,500 | 5,000 | 6,000 | 7,000 | 8,000 | 10,000 | |
HB incentive | - ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารักษาในโรงพยาบาล (HB incentive) กรณีไม่ได้ใช้สิทธิเบิกผลประโยชน์ทุกรายการ หรือใช้สิทธิเบิกเฉพาะค่าห้องค่าอาหาร บริษัทฯ จะจ่ายค่าชดเชยตามค่าห้องค่าอาหารในส่วนที่ยังไม่ได้เบิก (สูงสุดไม่เกิน 31 วันต่อการเข้ารักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง) |
1,000 | 1,500 | 2,000 | 2,500 | 3,000 | 3,500 | 4,000 |
Major Med. | - ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง (Major Med.) | |||||||
1. ผลประโยชน์สูงสุดต่อครั้ง | 100,000 | 150,000 | 200,000 | 250,000 | 300,000 | 400,000 | 500,000 | |
2. ค่าใช้จ่ายร่วมระหว่าง (บริษัท : ผู้เอาประกันภัย) 80 : 20 | ||||||||
3. ค่าห้องค่าอาหาร เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 31 | 1,000 | 1,500 | 2,000 | 2,500 | 3,000 | 3,500 | 4,000 | |
แบบผู้ป่วยนอก( OPD ) | ผลประโยชน์การตรวจรักษาแบบผู้ป่วยนอก ผลประโยชน์สูงสุด ต่อครั้ง ต่อวัน ไม่เกิน 1 ครั้ง/วัน และสูงสุดไม่เกิน 31 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ |
500 | 800 | 1,000 | 1,200 | 1,500 | 2,000 | 2,500 |
ทันตกรรม Dental ขยายความคุ้มครอง |
ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลทางทันตกรรม ผลประโยชน์สูงสุด ต่อปีกรมธรรม์ คุ้มครองการถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน - การรักษารากฟัน - การผ่าฟันคุด - ตรวจสุขภาพช่องปาก - โรคเหงือกอักเสบและโรคของเนื้อรอบรากฟัน - ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการรักษาฟัน(มิใช่เพื่อการจัดฟัน) |
1,500 | 2,000 | 2,500 | 3,000 | 3,500 | 4,000 | 5,000 |
Conditions of Insurance
- ชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี
- องค์กรเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยทั้งหมด
ผู้ถือกรมธรรม์
- ใบคำขอเอาประกันชีวิตกลุ่ม (สำหรับผู้ถือกรมธรรม์) (G002)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของกระทรวงพาณิชย์ อายุไม่เกิน 6 เดือน ก่อนวันลงนาม
- ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรนิติบุตคคล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- สัญญาขอใช้บริการบัตรประกันสุขภาพกลุ่ม
- คำรับรองสำหรับผู้ถือกรมธรรม์
- รายชื่อสมาชิกผู้เอาประกันภัย ( รูปแบบ File Excel ) หรือไฟล์ที่ระบุรายละเอียดตามแบบฟอร์มของบริษัทฯ
- กรณีพนักงาน 3-25 คน ขอเอกสารสำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ สปส.1-10 และสำเนาใบเสร็จรับเงินจากสำนักงานประกันสังคม
หมายเหตุ
* กรณีมอบอำนาจลงนามแทน จะต้องมีหนังสือแต่งตั้งหรือหนังสือมอบอำนาจในการทำธุรกรรม และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล
**เอกสารทั้งหมดต้องรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมลงรายชื่อผู้มีอำนาจลงนาม หรือผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล พร้อมประทับตราบริษัท(ในกรณีที่มี)
สำหรับสมาชิกผู้เอาประกันภัย
- สำเนาบัตรประชาชนของพนักงาน คู่สมรส และบุตรแต่ละคน พร้อมลงนามกำกับรับรองสำเนาถูกต้อง และ/หรือ สำเนาสูติบัตรสำหรับบุตรที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี
- ใบคำขอเอาประกันชีวิตกลุ่ม (G003 สำหรับพนักงาน) เอกสารข้อความยืนยันถ้อยแถลงหรือคำตอบและการให้ความยินยอม โดยผู้ขอเอาประกันเป็นผู้กรอกรายละเอียดทั้งหมด