เป็นหน้าที่ของคนวัยทำงานที่ในทุกๆปีที่หนีไม่พ้นเรื่องของการยื่นภาษีเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด การลดหย่อนภาษีจึงเป็นเรื่องที่จะต้องควรศึกษาและรวบรวมข้อมูลรายการลดหย่อนภาษีให้ดี และมาเตรียมเช็กรายการลดหย่อนภาษีขั้นพื้นฐานที่อาจจะมีบางรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม และมาลองดูข้อมูลตัวช่วยลดหย่อนภาษี ปี 2564 ที่คุณไม่ควรพลาดกัน
ประเภทค่าลดหย่อนภาษี
ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว ลดหย่อนสูงสุด 60,000 บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไข
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนสูงสุด 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้กรณีภรรยาไม่มีเงินได้
- ค่าลดหย่อนภาษีบุตร สิทธิลดหย่อนภาษีบุตรคนแรกได้ 30,000 บาท สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปสามารถลดหย่อนเพิ่มอีก 30,000 บาท แต่จะต้องเป็นบุตรโดยชอบตามกฎหมายสามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่จำกัด และบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะที่มีชีวิตอยู่)
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา สำหรับเลี้ยงดูพ่อแม่ และพ่อแม่คู่สมรสที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท โดยสิทธิลดหย่อนบิดามารดาใช้ได้ครั้งเดียว ไม่สามารถใช้สิทธิซ้ำกันได้ สูงสุดไม่เกิน 4 คน จำนวนคนละ 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
- ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี
- เบี้ยประกันชีวิต สามารถหักได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
- เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท กรณีทำประกันสุขภาพพ่วงกับประกันชีวิตจะต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
- เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ หักได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
- เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส หักได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อปี กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้
- เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาทจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเอาไปคำนวณภาษี
- เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ให้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินจำนวน 13,200 บาท
- กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หักภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท
ค่าลดหย่อนอหังสาริมทรัพย์
- ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย สิทธิลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
- ซื้อบ้านหลังแรกปี พ.ศ. 2558 ลดหย่อนได้ 20% ของราคาบ้าน โดยนำไปลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี (เฉลี่ยปีละ 4%) แต่ที่อยู่อาศัยนั้นราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท
- ซื้อบ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2562 ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่ที่อยู่อาศัยนั้นราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท
ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค
- เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และเงินบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะ สามารถหักได้สองเท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถหักได้สองเท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคทั่วไป หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน และเงินบริจาค 2 กลุ่มแรกข้างต้น
- เงินบริจาคให้พรรคการเมือง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
- สินค้าการศึกษาและกีฬา หักลดหย่อนภาษีไม่เกิน 15,000 บาท
- สินค้าหนังสือ ไม่เกิน 15,000 บาท
- สินค้ากลุ่มช้อปช่วยชาติ สินค้า OTOP ไม่เกิน 15,000 บาท
- ท่องเที่ยวไทย เที่ยวเมืองหลัก ลดหย่อนภาษีได้ 15,000 บาท
- ท่องเที่ยวไทย เที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษีได้ 20,000 บาท
- ค่าเสียหายจากพายุปาบึก ค่าซ่อมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท และค่าซ่อมรถไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่าเสียหายจากพายุโพดุล พายุคาจิกิ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ค่าซ่อมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท และค่าซ่อมรถอื่นๆ ไม่เกิน 30,000 บาท
OCEAN LIFE ไทยสมุทรขอแนะนำ โปรแกรมคำนวณภาษี
พร้อมตัวช่วยลดหย่อนภาษี โอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ รีเทิร์น 10/5
ประกันลดหย่อนภาษี ยืน 1 รับเงิน “สูง” ตั้งแต่ปีแรก เพื่อไปลงทุนต่อ